สภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2542 มีพื้นที่ 42 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ถนน รพช.(เร่งรัดพัฒนาชนบท) สายตำบล เชื้อเพลิง-ตาปาง (สร3168) ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่กระจัดกระจายไปทั่ว ตามแนวเขตชองหมู่บ้าน ระยะทางจากตำบลประทัดบุไปอำเภอปราสาทประมาณ 13 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 30-40 กิโลเมตร
อณาเขตและเนื้อที่ :
ทิศเหนือติดต่อตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ทิศใต้ติดต่อกับตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ลักษณะภูมิประเทศ :
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง จำนวน 3 ใน 4 ส่วนพื้นที่จำนวน 1 ใน 4 เป็นที่อยู่อาศัยและทำไร่ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน การเกษตรต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แหล่งน้ำส่วนใหญ่มีสภาพตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ตลอดปี จะมีน้ำใช้ช่วงฤดูฝนเท่านั้น
ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน มีนาคม- เมษายน
ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม- ตุลาคม
ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน- กุมภาพันธ์
ลักษณะการปกครอง :
หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่าวนตำบลประทัดบุ มีจำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านจบก จำนวน 192 ครัวเรือน ประชากรรวม 698 คน ชาย 327 คน หญิง 371 คน หมู่ที่ 2 บ้านหนองยาว จำนวน 144 ครัวเรือน ประชากรรวม 434 คน ชาย 222 คน หญิง 212 คน
หมู่ที่ 3 บ้านสระกอร์ จำนวน 147 ครัวเรือน ประชากรรวม 578 คน ชาย 287 คน หญิง 291 คน หมู่ที่ 4 บ้านปจิก จำนวน 110 ครัวเรือน ประชากรรวม 375 คน ชาย 186 คน หญิง 189 คน หมู่ที่ 5 บ้านภูมิกันดาร จำนวน 106 ครัวเรือน ประชากรรวม 379 คน ชาย 191 คน หญิง คน
หมู่ที่ 6 บ้านสวายปรีง จำนวน 137 ครัวเรือน ประชากรรวม 496 คน ชาย 230 คน หญิง 266 คน
หมู่ที่ 7 บ้านพนม จำนวน 156 ครัวเรือน ประชากรรวม 669 คน ชาย 328 คน หญิง 341 คน
หมู่ที่ 8 บ้านประทัดบุ จำนวน 161 ครัวเรือน ประชากรรวม 641คน ชาย 323 คน หญิง 318 คน
หมู่ที่ 9 บ้านปจิกพัฒนาจำนวน 70 ครัวเรือน ประชากรรวม 309 คน ชาย 152 คน หญิง 157 คน รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 4,988 คน ชาย 2,246 คน หญิง 2,333 คน |